วันอังคารที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2559

วันพฤหัสบดีที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

A Rose for Mother
Another Mother’s Day is here,
Bringing joy and pleasures new,
On this special day, Mother dear,
I want to remember you.

I cannot give you costly gifts,
And I’ve told you this before,
No matter what I give to you,
You give back much, much more.
I’m giving you a pure, sweet rose,
Gathered in the early morn,
This rose you planted in my heart,
The day that I was born.
In kindly, loving thoughts of you,
And with the faith you still impart,
The rose I give to you today,
Is the love that’s in my heart.
วันแม่แห่งชาติวนมาถึงอีกครั้งแล้ว ลูกเองถึงแม้จะให้ของขวัญแม่ไปมากเท่าไหร่ก็เทียบไม่ได้เลยกับความรักที่แม่ให้มา ดังนั้นจึงขอมอบกุหลาบดอกหนึ่ง เป็นกุหลาบที่แม่ปลูกไว้นับแต่วันที่ลูกเกิด กุหลาบที่จะมอบให้เปรียบเสมือนความรักสุดหัวใจนั่นเอง

วันพุธที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2559



รายละเอียดของคณะ

นิติศาสตร์ เป็นวิชาที่ศึกษาเรื่องกฎหมาย  หรือวิชาที่มีกฎหมายเป็นวัตถุของการศึกษา เป็นการศึกษากฎเกณฑ์ประพฤติของคนที่อยู่ร่วมกันในสังคม  คนที่จบการศึกษาทางด้านนี้จะมีความรอบรู้เรื่องกฎหมาย  ทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ  โดยฝึกฝนให้นักศึกษาใช้วิชานิติศาสตร์ให้ถูกต้อง  รู้จักใช้เหตุผล  เข้าใจในกฎหมาย  ภายใต้คุณธรรม  จริยธรรม และจรรยาบรรณในวิชาชีพ  มีความหนักแน่น  มั่นคง  มีจิตสำนึกทางสังคม  มีความรับผิดชอบในการทำงาน  และใช้ความรู้ทางกฎหมายในทางที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ
 สาขาที่เปิดสอน

สาขากฎหมายแพ่งและพาณิชย์
สาขากฎหมายพาณิชย์และธุรกิจ
สาขากฎหมายมหาชน
สาขาวิชาชีพในกระบวนการยุติธรรม
สาขาวิชากฎหมายระหว่างประเทศ
 คุณสมบัติผู้เข้าศึกษา

จบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) หรือเทียบเท่า  มีความจำดี  มีเหตุผล  รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
มีความสามารถในการเขียนและการใช้ภาษาไทยเป็นอย่างดี  รักการอ่าน  รักการค้นคว้า  มีความเป็นธรรม  มีความกล้าแสดงออก  และแสดงความคิดเห็นในสิ่งที่ถูกต้อง  มีทักษะและกระบวนการคิดที่เป็นระบบ

 แนวทางการประกอบอาชีพ แนวทางการเรียนต่อ

ผู้ที่จบการศึกษาทางด้านนิติศาสตร์  สามารถประกอบอาชีพได้ทุกอาชีพ  และยังสามารถเข้ารับราชการได้ในทุกกระทรวง   เช่น  ผู้พิพากษา  พนักงานอัยการ  พนักงานสอบสวน  ตำรวจ  ทหารพระธรรมนูญ  นิติกร  ปลัดอำเภอ  หรือประกอบอาชีพอิสระ  เช่น  ทนายความ  ที่ปรึกษากฎหมาย  ตั้งสำนักงานทนายความ  สามารถศึกษาต่อในสำนักอบรมศึกษากฎหมายแพ่ง เนติบัณฑิตสภาเพื่อสอบเป็นเนติบัณฑิตไทย (น.บ.ท.)  และสามารถศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นทั้งในและต่างประเทศ
 สถาบันที่เปิดสอน

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คณะนิติศาสตร์

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
คณะสังคมศาสตร์
สาขาวิชานิติศาสตร์

มหาวิทยาลัยบูรพา
คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต

มหาวิทยาลัยนครพนม
คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์
สาขาวิชานิติศาสตร์

มหาวิทยาลัยพะเยา
คณะนิติศาสตร์

มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
คณะนิติศาสตร์

มหาวิทยาลัยขอนแก่น
คณะนิติศาสตร์

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
คณะนิติศาสตร์

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 
คณะนิติศาสตร์

มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
สาขาวิชานิติศาสตร์

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
สาขาวิชานิติศาสตร์





                                 อาชืพที่สนใจ

คุณสมบัตินายร้อยตำรวจหญิง
  
นายร้อยตำรวจหญิงนายร้อยตำรวจหญิง
คุณสมบัติของนักเรียนที่จะสอบเข้าไปเป็นนักเรียนนายร้อยตำรวจหญิง
1. บุคคลที่เป็นข้าราชการตำรวจ หญิง อายุ ไม่เกิน 25 ปี เป็นข้าราชการตำรวจมาแล้ว 1 ปี
2. นรต.หญิงบุคคลภายนอก (จบ..6 )
อายุ 16 - 21 ปี
- สำเร็จมัธยมปลาย (ม.6) หรือเทียบเท่า
- สูงไม่น้อยกว่า 160 ซม
- บิดา มารดา สัญชาติไทย
วิชาที่ใช้สอบข้อเขียน
>>วิชาละ 200 คะแนนเต็ม>>
คณิต/วิทย์/ภาษาไทย/ภาษาอังกฤษ           

***สอบรอบสอง***
ตรวจร่างกาย ตรวจสุขภาพที่ รพ.ตำรวจ
สอบประวัติ สอบประวัติ ที่สถานีตำรวจ  ที่บ้านเกิด
สอบพละศึกษา
ว่ายน้ำ 50 เมตร  ไม่เกิน  3  นาที
วิ่ง 1000 เมตร    ไม่เกิน  7  นาที
สอบสัมภาษณ์และวัดขนาดร่างกาย  พิจารณารูปร่าง ลักษณะท่าทาง ท่วงทีวาจา ปฏิภาณไหวพริบเพื่อคัดเลือกว่ามีความเหมาะสมจะเป็นข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตรหรือไม่

      ผังแนวทางในการบรรจุเป็นนายตำรวจชั้นสัญญาบัตรหญิง(นายร้อยตำรวจหญิง)


การศึกษาในโรเรียนนายร้อยตำรวจ
        การจัดการศึกษาตามหลักสูตรนักเรียนนายร้อยตำรวจ ตลอด 4 ปี จะต้องอยู่ประจำ ณ สถานศึกษาตลอด 4 ปี เพื่อใช้เวลาสำหรับสร้างบุคลากรตำรวจให้ได้ครบทุกด้าน คือ พุฒิศึกษา พลศึกษา และจริยศึกษา คือ ให้ได้ทั้งความรู้ในวิชาชีพตำรวจ ด้านร่างกาย บุคลิกภาพ คุณลักษณะ และทักษะ ที่เหมาะสมทั้งด้านคุณธรรมและจริยธรรมในอาชีพตำรวจ   รัฐต้องใช้งบประมาณสำหรับการจัดการศึกษา เสมือนเป็นนักเรียนทุนของรัฐ เพื่อให้ได้ตำรวจอาชีพที่สมบูรณ์แบบที่สุด ต้องใช้ทรัพยากรในการจัดการศึกษา และการฝึกอบรม ทั้งด้านที่พัก อาหาร สถานที่ อุปกรณ์การศึกษา และฝึกอบรม โดยตลอดหลักสูตรนักเรียนนายร้อย ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการศึกษาแต่อย่างใด

  • เมื่อเข้ารับการศึกษาต่อที่โรงเรียนนายร้อยตำรวจจะได้รับเงินเดือนตลอด 4 ปี
  • ราชการรับผิดชอบค่าที่พัก ค่าอาหาร ตำรา เครื่องแต่งกาย และอุปกรณ์การศึกษา และการฝึกอบรมทั้งหมด
  • ได้รับปริญญาตรี รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต
  • ได้รับพระราชทานยศเป็นร้อยตำรวจตรีหญิง
  • ได้รับพระราชทานกระบี่
  • ได้รับการบรรจุแต่งตั้งในตำแหน่งรองสารวัตรในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติทุกคน
เมื่อสำเร็จการศึกษา
เมื่อสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยตำรวจแล้ว สามารถนำคุณวุฒิ รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิตไปศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีที่สามารถเทียบโอนหน่วยกิต ได้ คือ
  • สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เทียบโอนหน่วยกิต ได้จำนวน 88 หน่วยกิต จากจำนวน 145 หน่วยกิต
  • สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เทียบโอนชุดวิชา ได้จำนวน 4 ชุดวิชา ในจำนวน 24 ชุดวิชา
  • สามารถใช้คุณวุฒิ รัฐประศาสนศาสตร์ ศึกษาต่อในระดับปริญญาโท และสามารถศึกษาต่อจนถึงระดับปริญญาเอก ได้เช่นเดียวกับผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยทั่วไป ได้ในหลายสาขาทั้งในและต่างประเทศ
      ตำแหน่งที่แต่งตั้งครั้งแรก คือ การเป็นพนักงานสอบสวนที่ถือเป็นตำแหน่งสำคัญยิ่งในการอำนวยความยุติธรรมขั้น ต้น ดังนั้นนายตำรวจสัญญาบัตรที่สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยตำรวจไป ปฏิบัติหน้าที่จะต้องมีคุณสมบัติพร้อมทั้งความรู้ความสามารถ กฎหมาย การรวบรวมหลักฐาน มีวิจารณญาณ ไหวพริบ และคุณสมบัติอีกหลายด้านจึงจะสามารถเป็นตำรวจอาชีพที่ดีได้ตามที่ประชาชนคาด หวังและต้องการได้ หน้าที่ราชการที่เริ่มจากตำแหน่งรองสารวัตร ยศร้อยตำรวจตรี ไปจนถึงตำแหน่งผู้บังคับบัญชา ยศพลตำรวจตรี


                                ผู้พิพากษา





นิยามอาชีพ
          พิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวงในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ในศาล       ยุติธรรม เว้นแต่คดีที่รัฐธรรมนูญบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลอื่น มีอำนาจหน้าที่วินิจฉัยข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย ใช้ดุลยพินิจชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานและทำคำสั่งหรือคำพิพากษาในคดีแพ่งและคดีอาญาปฏิบัติหน้าที่ในศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา
ลักษณะของงานที่ทำ
          ตรวจคำคู่ความซึ่งยื่นต่อศาลเพื่อสั่งรับหรือไม่รับหรือให้ทำใหม่หรือให้แก้ไขเพิ่มเติมควบคุมการดำเนินกระบวนพิจารณาคดี ออกข้อกำหนดเพื่อรักษาความ      เรียบร้อยในบริเวณศาลและเพื่อให้กระบวนพิจารณาดำเนินไปโดยเที่ยงธรรม  และ    รวดเร็ว  ออกหมายเรียก ออกหมายอาญา ออกหมายสั่งให้ส่งคนมาจาก หรือไปยังจังหวัดอื่นหรือออกคำสั่งใด ๆ  ไต่สวน  และวินิจฉัยชี้ขาดคำร้องหรือคำขอไต่สวนมูลฟ้องในคดีอาญาไต่สวนการชันสูตรพลิกศพ  ในกรณีที่มีความตายเกิดขึ้นโดยการกระทำของ     เจ้าพนักงานนั่งพิจารณาคดีและควบคุมการนำสืบพยานหลักฐานของคู่ความ ตรวจบุคคล วัตถุสถานที่หรือตั้งผู้เชี่ยวชาญใช้ดุลยพินิจวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานทั้งปวงพิพากษาชี้ขาดตัดสินคดีทั้งทางแพ่งและทางอาญาโดยยุติธรรมตามกฎหมาย บังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษา ทำรายงานการคดีและกิจการของศาลส่งตามระเบียบ ระมัดระวังการใช้ระเบียบวิธีการต่างๆ ที่กำหนดขึ้นโดยกฎหมายหรือโดยประการอื่น  ให้เป็นไปโดยถูกต้องเพื่อให้การพิจารณาพิพากษาคดีเสร็จเด็ดขาดไปโดยเร็วอาจมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีต่างประเภทกันตามประเภทของศาล
สภาพการจ้างงาน           การบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการให้ผู้สอบคัดเลือกที่ได้คะแนนสูงได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษาก่อนผู้ได้รับคะแนนต่ำลงมาตามลำดับแห่งบัญชีสอบคัดเลือก
          ผู้ประกอบอาชีพผู้พิพากษาจะมีบัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง ข้าราชการตุลาการแตกต่างตามประเภทศาลและตำแหน่งผู้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษาจะมีอัตราเงินเดือน 14,850 - 16,020 บาท
          ผู้ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาประจำศาลถึงอธิบดีผู้พิพากษา (ศาลชั้นต้น) จะมีอัตราเงินเดือน 21,800 – 57,190 บาท และมีเงินประจำตำแหน่งแตกต่างกันไปผู้ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาคถึงประธานศาลอุทธรณ์  ผู้พิพากษา     ศาลฎีกาถึงรองประธานศาลฎีกาจะมีอัตราเงินเดือน 57,190 - 62,000 บาท และมีเงินประจำตำแหน่งแตกต่างกันไป
          ผู้ดำรงตำแหน่งประธานศาลฎีกาจะมีอัตราเงินเดือน  64,000  บาท และมีเงินประจำตำแหน่ง 50,000 บาท ทำงาน  40  ชั่วโมงต่อสัปดาห์  อาจจะต้องเข้าเวรใน วันเสาร์ วันอาทิตย์และวันหยุด เพื่อทำหน้าที่ลงนามคำสั่งในหมายศาล  ในกรณีที่ต้องดำเนินทันทีไม่สามารถรอจนถึงวันทำการได้
สภาพการทำงาน
          ผู้พิพากษามีห้องทำงานที่มีสภาพเหมือนห้องทำงานทั่วไปและเมื่อต้องทำหน้าที่ตัดสินคดีความ จะต้องนั่งบังลังก์ปฏิบัติหน้าที่พิพากษาเป็นประธานในห้อง  ตัดสินคดีความอาชีพผู้พิพากษา  อาจจะต้องปฏิบัติงานประจำศาลในต่างจังหวัด   โดยเฉลี่ยจะปฏิบัติหน้าที่ประมาณ 3 - 4 ปีในแต่ละจังหวัด ซึ่งมีบ้านพักผู้พิพากษาประจำในทุกจังหวัดหรืออาจจะปฏิบัติหน้าที่ประจำศาลในกรุงเทพฯ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการประกาศของคณะกรรมการข้าราชการศาลยุติธรรม
คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ
ผู้พิพากษา ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
- สัญชาติไทยโดยกำเนิด
- ไม่เป็นผู้ถูกลงโทษไล่ออก  ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ
-  อายุไม่ต่ำกว่า 25 ปีบริบรูณ์
- เป็นนิติศาสตร์บัณฑิต หรือสอบไล่ได้ปริญญาหรือ
- ประกาศนียบัตรทางกฎหมายจากต่างประเทศซึ่ง ก.ต. เทียบไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับเนติบัณฑิตยสภาจากสำนักเนติบัณฑิตยสภา
ผู้ที่จะประกอบอาชีพนี้ ควรเตรียมความพร้อมดังต่อไปนี้คือ  :  การดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 นั้น บุคคลผู้ประสงค์จะเข้ารับราชการเป็นผู้พิพากษามีได้  3 ทางคือ
1. สมัครสอบคัดเลือก  ต้องอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปีบริบูรณ์
2. สมัครทดสอบความรู้  ต้องอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปีบริบูรณ์
3. สมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษต้องอายุไม่ต่ำกว่า 35 ปีบริบูรณ์
          ผู้ที่จะเข้าเป็นผู้พิพากษาโดย 3 ทางดังกล่าวข้างต้น  ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม มาตรา 26  กำหนดว่าต้องมีคุณสมบัติ   และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมาย  เช่น ต้องมีสัญชาติไทยโดยการเกิด  ไม่เป็น ผู้ถูกลงโทษไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ รัฐวิสาหกิจ  หรือหน่วยงานอื่น ๆ ของรัฐ  เป็นต้น  และสำหรับผู้สอบคัดเลือกตามข้อ1 ต้องมีคุณวุฒิและได้ประกอบ   วิชาชีพทางกฎหมาย ดังต่อไปนี้
1. เป็นนิติศาสตร์บัณฑิตหรือสอบไล่ได้ปริญญาหรือประกาศนียบัตรทางกฎหมายจากต่างประเทศ ซึ่ง ก.ต. เทียบไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี
2. สอบไล่ได้ตามหลักสูตรของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่ง   เนติบัณฑิตยสภา
3. ได้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายเป็นจ่าศาล รองจ่าศาล เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
          เจ้าพนักงานบังคับคดี  หรือพนักงานคุมความประพฤติของศาลยุติธรรม  พนักงานอัยการ นายทหารเหล่าพระธรรมนูญ ทนายความ  หรือประกอบวิชาชีพอย่างอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับกฎหมาย ตามที่ ก.ต. กำหนดเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสองปีทั้งนี้ให้   ก.ต. มีอำนาจออกระเบียบกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพนั้น ๆ ด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสมัครสอบคัดเลือก ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.ต. กำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา (พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาล    ยุติธรรม มาตรา 27)
ผู้สมัครทดสอบความรู้ตามข้อ  2  ต้องมีคุณวุฒิและได้ประกอบวิชาชีพ         ดังต่อไปนี้
1. สอบไล่ได้ตามหลักสูตรของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่ง เนติบัณฑิตยสภา
2. มีคุณวุฒิอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
          ก. สอบไล่ได้ปริญญาหรือประกาศนียบัตรทางกฎหมายจากต่างประเทศ   โดยมีหลักสูตรเดียวไม่น้อยกว่าสามปี  ซึ่ง ก.ต.เทียบได้ไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือสอบได้ปริญญาเอกทางกฎหมายจากมหาวิทยาลัยในประเทศไทย ซึ่ง ก.ต. รับรอง
          ข. สอบไล่ได้ปริญญาหรือประกาศนียบัตรทางกฎหมายจากต่างประเทศ   โดยมีหลักสูตรเดียวไม่น้อยกว่าสองปีหรือหลายหลักสูตรรวมกันไม่น้อยกว่าสองปี  ซึ่ง ก.ต. เทียบไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีและได้ประกอบวิชาชีพตามที่ระบุไว้ตามมาตรา 27 (3) (ประกอบวิชาชีพเป็นจ่าศาล พนักงานอัยการ ฯลฯ เป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี)
          ค. สอบไล่ได้ปริญญาโททางกฎหมายจากมหาวิทยาลัยในประเทศไทย   ซึ่ง  ก.ต. รับรองและได้ประกอบวิชาชีพตามที่ระบุไว้ในมาตรา 27 (3) เป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี
          ง. เป็นนิติศาสตร์บัณฑิตชั้นเกียรตินิยมและได้ประกอบวิชาชีพเป็นอาจารย์ในคณะนิติศาสตรในมหาวิทยาลัยของรัฐเป็นเวลาไม่น้อยกว่าห้าปี
          จ.  เป็นนิติศาสตร์บัณฑิตและเป็นข้าราชการศาลยุติธรรมที่ได้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายในตำแหน่งตามที่ ก.ต. กำหนดเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหกปีและเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมรับรองว่ามีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความรู้ความสามารถดี และมีความประพฤติดีเป็นที่ไว้วางใจว่าจะปฏิบัติหน้าที่ข้าราชการตุลาการได้
          ฉ. สอบไล่ได้ปริญญาโทหรือปริญญาเอกในสาขาวิชาที่ ก.ต. กำหนดและเป็นนิติศาสตร์บัณฑิตและได้ประกอบวิชาชีพตามที่ระบุไว้ในมาตรา   27 (3)  หรือได้ประกอบวิชาชีพตามที่ ก.ต. กำหนดเป็นเวลาไม่น้อย  กว่าสามปี
          ญ.  สอบไล่ได้ปริญญาตรีหรือที่ ก.ต. เทียบไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีในสาขาวิชาที่ ก.ต.กำหนดและได้ประกอบวิชาชีพตามที่  ก.ต. กำหนดเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสิบปีจนมีความรู้ความเชี่ยวชาญในวิชาชีพนั้นและเป็นนิติศาสตร์บัณฑิตให้ ก.ต. มีอำนาจออกระเบียบกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพตาม (2) (จ) (ฉ) และ (ช) ด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสมัครทดสอบความรู้ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.ต.กำหนด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา (พระราชบัญญัติระเบียบ  ข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม มาตรา 28) ส่วนผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษ ตามข้อ 3 ต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
          1. มีคุณวุฒิอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
                    ก. เป็น หรือเคยเป็นศาสตราจารย์หรือ รองศาสตราจารย์ในมหาวิทยาลัยของรัฐ
                    ข. เป็นหรือเคยเป็นอาจารย์ในคณะนิติศาสตร์ในมหาวิทยาลัยของรัฐ  เป็นเวลาไม่น้อยกว่าห้าปี
                    ค. เป็นหรือเคยเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญหรือข้าราชการประเภทอื่นในตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้อำนวยการกอง  หรือเทียบเท่าขึ้นไป
                    ง. เป็นหรือเคยเป็นทนายความมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสิบปี
          2. สอบไล่ได้ตามหลักสูตรของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่ง เนติบัณฑิตยสภา
          3. เป็นผู้มีความรู้ความสามารถ และประสบการณ์ดีเด่นในสาขาวิชากฎหมายตามที่ ก.ต.กำหนด
          4. เป็นผู้มีความซื่อสัตย์สุจริต มีบุคลิกภาพ มีความประพฤติและทัศนคติเหมาะสมแก่การปฏิบัติหน้าที่ข้าราชการตุลาการ
 หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกพิเศษให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.ต. กำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา  (พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม มาตรา 29)
โอกาสในการมีงานทำ
          ตำแหน่งผู้พิพากษาถือว่าเป็นตำแหน่งที่มีเกียรติ เป็นงานที่เกี่ยวกับสิทธิ เสรีภาพ ทรัพย์สิน และชีวิตของประชาชนพลเมือง  และทำงานใน   พระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ มีบัลลังก์นั่งสูงกว่าข้าราชการธรรมดา    แม้ปัจจุบันนี้ความคิดดังกล่าวจะลดน้อยลงเนื่องจากจำนวนผู้พิพากษามากขึ้น  อีกทั้งฐานะในทางสังคมและเกียรติภูมิของข้าราชการฝ่ายอื่น  ตลอดจนพ่อค้านักธุรกิจสูงขึ้น            แต่ตำแหน่งผู้พิพากษาก็ยังคงมีความสำคัญอยู่   เพราะฉะนั้นผู้พิพากษาจึงต้องดำรงตนให้น่าเชื่อถือ  ดังนั้นกิจการบางอย่างซึ่งขัดกับงานในตำแหน่งหน้าที่ราชการหรือทำให้เป็นที่ระแวงสงสัยในความเป็นกลางหรือความเป็นธรรม  เช่น รับปรึกษาคดีให้บุคคลทั่วไปหรือรับทำงานนอกเวลาหารายได้พิเศษเลี้ยงครอบครัว  แม้จะเป็นงานสุจริตกฎหมายก็ห้ามไว้มิให้กระทำ  เพราะการกระทำเช่นนั้นอาจกระทบกระเทือนถึงการปฏิบัติหน้าที่ผู้พิพากษา
โอกาสความก้าวหน้าในอาชีพ
          ผู้ประกอบอาชีพนี้ทำงานตามที่ได้รับมอบหมายเมื่อมีความชำนาญและ   ประสบการณ์จะสามารถได้รับการเลื่อนขั้น  ตำแหน่งตามสายงานไปได้จนถึงตำแหน่งบริหารของข้าราชการตุลาการประธานศาลฎีกา การประกอบการอื่นเพื่อหารายได้พิเศษแม้จะเป็นงานสุจริตกฎหมายก็ห้ามไว้มิให้กระทำเนื่องจากผู้พิพากษาต้องดำรงตนให้น่าเชื่อถือ ไม่ควรทำให้เป็นที่ระแวงสงสัยในความเป็นกลางหรือความเป็นธรรมและสำหรับอาชีพนี้อัตราเงินเดือนจัดได้ว่าสูงกว่าข้าราชการสังกัดอื่นๆ ทั่วไป  ซึ่งเป็นอัตราเงินเดือนที่ปรับใหม่ให้เหมาะสมกับภาวะสังคม
อาชีพที่เกี่ยวเนื่อง
ทนายความ ที่ปรึกษาทางกฏหมาย  นิติกร
อาจารย์มหาวิทยาลัย